พฤศจิกายน 22, 2024, 01:04:09 ก่อนเที่ยง

ข่าว:

SMF - Just Installed!


การขอคืนเครดิตภาษีเงินปันผลสำหรับผู้ลงทุนในหุ้น

เริ่มโดย Annop, กุมภาพันธ์ 18, 2015, 11:32:56 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

Annop


การขอคืนเครดิตภาษีเงินปันผลสำหรับผู้ลงทุนในหุ้น

เครดิตภาษีเงินปันผล คือเงินภาษีที่ถูกหักไปแล้วครั้งหนึ่งในรูปแบบของภาษีเงินได้นิติบุคคล จากกำไรสุทธิของบริษัท
เมื่อนำมาจ่ายเป็นเงินปันผล นักลงทุนยังต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก ในทางกฎหมายก็จะถือว่าเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อน
เพราะฉะนั้นภาครัฐจึงอนุญาต ให้นักลงทุนขอ "เครดิตภาษีเงินปันผล" คืนได้

การพิจารณาว่า เงินปันผลสามารถขอคืนเครดิตภาษี ได้หรือไม่ ดูได้จากภาษีเงินได้ของบริษัทที่เราลงทุนว่าเสียภาษีหรือไม่
ถ้าบริษัทที่เราลงทุน ไม่เสียภาษีก็ไม่สามารถขอคืนเครดิตภาษีเงินปันได้ เช่นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เป็นต้น
ถ้าบริษัทเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหลายอัตราก็จะแยกคำนวณตามเงินปันผลในแต่ละอัตรา ซึ่งจะระบุชัดเจนอยู่ในหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย  ตามมาตรา 50 ทวิ
โดยปรกติผู้ลงทุนในหุ้น เมื่อถึงเวลาได้รับเงินปันผล ทางบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
จะส่งใบรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย มาให้ทางไปรษณีย์ เพื่อเอาไว้ประกอบการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้
จากเงินปันผล จะมีลักษณะดังนี้
หมายเหตุ รูปที่แสดงไว้ถูกย่อไว้ให้พอดีกับหน้าที่แสดง ถ้าอ่านไม่ชัดลองคลิกที่รูปจะขยายขึ้นมา และคลิกอีกทีเพื่อย่อลงไป



จากตัวอย่างเป็น หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของ BTS ลองมาทำความเข้าใจสักหน่อย
หุ้น BTS จำนวน 40,000 หุ้น จ่ายเงินปันผลอัตราหุ้นละ 0.165 บาท เป็นเงิน 6,600 บาท
หักภาษี 10 % เป็นเงิน 660 บาท รับจริง 5,940 บาท
ดูที่ช่อง จำนวนเงินที่จ่าย ของ BTS มีหักหลายอัตราคือ
อัตรา ร้อยละ 30      316.00
อัตรา ร้อยละ 20      2,948.00
และส่วนที่ ไม่ได้รับเครดิตภาษี   3,336.00

ตัวเลขพวกนี้เราต้องนำไปกรอกในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่หน้าจอบันทึกรายการเงินปันผล
แต่เดี๋ยวนี้เราไม่ต้องยุ่งยากกับวิธีการกรอกอีกแล้ว โดยวิธีง่ายๆคือ Download ข้อมูลภาษีจาก TSD
แล้ว Upload ข้อมูลเงินได้เมื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต ได้เลย

ฉนั้น เราไม่ต้องสนใจวิธีกรอกในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ได้
เมื่อ Upload ข้อมูลเงินได้ มันจะกรอกให้เสร็จเรียบร้อย ตามตัวอย่าง



ส่วนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ก็เก็บเอาไว้เป็นหลักฐาน เมื่อกรมสรรพากร ต้องการขอเอกสารเพิ่ม
ถ้าไม่มีภาษีที่ต้องจ่ายอื่นๆ พูดง่ายๆว่าไม่ได้ทำงานแล้ว เป็นต้น เมื่อยื่นแบบภาษีแล้วจะได้เงินคืนเกินกว่าที่สรรพากรหักไป

ขั้นตอนขอคืนเงินเครดิตภาษีที่กรมสรรพากรหักไว้ ดังนี้
1 Download ข้อมูลภาษีจากศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (TSD)
2 Upload ข้อมูลเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) สำหรับยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต

สามารถ Download วิธี จาก TSD ได้ที่
https://www.set.or.th/tsd/th/investorportal/files/IVPtoRD2016_v2.pdf
เอามาดูประกอบกันได้ครับ

1 Download ข้อมูลภาษีจากศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (TSD)

จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าถ้าเป็นหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัย์ เราไม่ต้องกรอกรายละเอียดเอง
สามารถดึงข้อมูลภาษีมาจาก บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ได้เลย ตาม Link นี้ไปเลยครับ

http://www.set.or.th/tsd/th/tsd.html

ดูด้านขวาจะเห็นที่ให้ Login เข้าระบบ ตามรูป



ถ้ายังไม่เคยสมัครสมาชิก Investor Portal ก็คลิก สมัครสมาชิก ได้เลย

มันจะพาไปที่นี่

https://ivp.tsd.co.th/registration

ไม่ยาก ทำตามขั้นตอนไปเรื่อยๆตามรูป



สิ่งที่ควรต้องเตรียมไว้ก่อนเพื่อให้เสร็จในขั้นตอนเดียวเลยคือ
ทำไฟล์รูปภาพบัตรประชาชน เขียนทับในรูปว่า "ใช้ในการสมัคร TSD Investor Portal" แล้วเซ็นชื่อไว้ให้เรียบร้อย
พอถึงขั้นตอนที่ 3 ต้องส่ง หลักฐานการสมัคร จะได้มีพร้อมส่งได้เลย แต่ถ้าจะสมัครแล้วยังไม่มีก็สามารถส่งที่หลังได้
โดยคลิกที่ แนบเอกสารการสมัคร ที่หน้า Login มันจะพาไปที่หน้าให้ Upload เอกสารตามรูป



ก็แค่กรอกหมายเลขบัตรประชาชนและ Upload สำเนาบัตรประชาชน แล้วคลิก Submit เป็นอันเรียบร้อย

ถ้าเป็นสมาชิกอยู่แล้วก็ Login เข้าระบบเลยครับ ใส่ชื่อผู้ใช้ มักจะเป็นรูปแบบ E-Mail, รหัสผ่าน แล้วคลิก เข้าสู่ระบบ



เข้าได้แล้วจะเป็นหน้านี้ครับ ยินดีต้อนรับ แล้วครับ



เราจะเอาไฟล์สำหรับยื่นกรมสรรพากร ก็ไปที่นี่ครับ คลิกที่ พิมพ์รายงาน แล้วเลือกที่ ไฟล์ยื่นกรมสรรพากร



จะมีไฟล์ที่ให้ Download 2 แบบคือ ไฟล์สำหรับยื่นแบบภาษีฯ ทางอินเทอร์เน็ต กับไฟล์ Excel ใช้เพื่อตรวจสอบเท่านั้น
ก็ Download มาทั้ง 2 ไฟล์เลยครับ



เมื่อเลือก สำหรับยื่นแบบภาษีฯ ทางอินเทอร์เน็ต จะมีข้อความเตือนว่าเราไม่สามารถเปิดไฟล์นี้ได้
ในหน้านี้ก็จะมี หมายเหตุ ด้านล่างเตือนด้วย อ่านเพื่อความเข้าใจด้วยนะครับ



สำหรับยื่นแบบภาษีฯ ทางอินเทอร์เน็ต จะได้ไฟล์ชื่อ "เลขบัตรประชาชน_2017.enc"
ใช้เพื่อตรวจสอบเท่านั้น จะได้ไฟล์ชื่อ "เลขบัตรประชาชน_2017.xls" ไฟล์นี้สามารถเปิดดูเพื่อตรวจสอบได้

เสร็จขั้นตอนที่ 1 แล้วครับ เราก็ได้ไฟล์ที่จะนำไป Upload สำหรับยื่นแบบภาษีฯ ทางอินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้วครับ

Annop


การขอคืนเครดิตภาษีเงินปันผลสำหรับผู้ลงทุนในหุ้น (ต่อ)

2 Upload ข้อมูลเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) สำหรับยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต

ต่อไปเราจะยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทางอินเทอร์เน็ต ตามลิงค์ไปเลยครับ

http://epit.rd.go.th/publish/index.php

ก็มาถึงหน้า ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา



เลือกที่ ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90/91



ถ้าเคยลงทะเบียนแล้วก็ Login เพิ่อยื่นแบบได้เลย
ถ้ายังไม่เคยลงทะเบียน คลิกที่ ลงทะเบียนที่นี่ มันจะพาไปที่ ลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91/94 ทางอินเทอร์เน็ต



เลือกประเภทการลงทะเบียน บุคคลธรรมดา สัญชาติไทย จะมีช่องให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล



เตรียมบัตรประชาชนไว้ด้วยครับ กรอกเสร็จก็คลิก ทำรายการต่อไป ทำไปเรื่อยๆตามคำแนะนำ

ส่วนผู้ที่เคยลงทะเบียนแล้วก็ Login ได้เลยโดย หมายเลขผู้ใช้จะเป็น เลขบัตรประชาชน รหัสผ่านก็ รหัสที่เรากำหนดตอนลงทะเบียน
หน้าแรกจะเป็น ข้อมูลผู้มีเงินได้ ถูกต้องก็คลิก ทำรายการต่อไป



ก็จะมาถึง 6 ขั้นตอน ที่จะต้องกรอกในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เริ่มกันเลยครับ
ขั้นตอนที่ 1 หน้าหลัก กรอกรายละเอียด ผู้มีเงินได้ และคู่สมรส ทุกขั้นตอนเมื่อกรอกเสร็จก็คลิก ทำรายการต่อไป ทุกๆขั้นตอน



ขั้นตอนที่ 2 เลือกเงินได้/ลดหย่อน ด้านซ้าย เลือกรายการเงินได้พึงประเมิน มีเงินได้อะไรก็ติ๊กเข้าไป
สำหรับผู้ลงทุนในหุ้นอย่างเดียวก็ติ๊กที่ มาตรา 40(4)(ข) เงินได้จากเงินปันผลจากบริษัทฯ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
ส่วนด้านขวา เลือกเงินได้ที่ได้รับยกเว้น/ค่าลดหย่อน มีค่าลดหย่อนอะไรก็ติ๊กเข้าไปเช่น เบี้ยประกันชีวิต เงินบริจาค เป็นต้น
ในส่วนนี้ ถ้ารายได้ไม่มากเกินที่จะต้องเสียภาษี ไม่ต้องติ๊กค่าลดหย่อนก็ได้ ตามตัวอย่างไม่ได้ติ๊กอะไรเลย



ขั้นตอนที่ 3 บันทึกเงินได้ สำหรับผู้ลงทุนในหุ้นอย่างเดียว ก็จะขึ้นหน้านี้มาเลยครับ
เราไม่ต้องกรอกอะไร เพราะเราจะใช้วิธี Upload ไฟล์ที่ Download จาก TSD ก็คลิก บันทึก / แก้ไข เงินปันผล



ก็จะมาถึง หน้าจอบันทึกรายการเงินปันผลฯ จะมีช่องให้กรอกตามหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่เราไม่ต้องกรอก



ติ๊กตรงช่อง ประสงค์อัพโหลดข้อมูลจาก ศูนย์ฝากหลักทรัพย์ (TSD) คลิกที่ Choose File



เลือกไฟล์ที่ Download มา จะเห็นชื่อไฟล์ขึ้นมาที่ด้านข้าง Choose File เป็น เลขบัตรประชาชน_2017.enc
คลิก อัพโหลดจาก ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (TSD)



มันกรอกให้หมดแล้วครับ เราไม่ต้องกรอกเองเลย คลิก กลับหน้าหลัก



ก็จะกลับมาที่หน้า ขั้นตอนที่ 3 ซึ่งได้กรอกข้อมูลทั้งหมดให้แล้ว คลิก ทำรายการต่อไป



ขั้นตอนที่ 4 บันทึกลดหย่อน ตามตัวอย่าง รายได้ไม่เกินขั้นที่จะเสียภาษี ก็ไม่ได้ติ๊กค่าลดหย่อนอื่นๆ



ขั้นตอนที่ 5 คำนวณภาษี กรมสรรพากรจะคำนวนภาษี และกรอกข้อมูลมาให้เสร็จเรียบร้อย
อันนี้สำคัญมาก อย่าลืมติ๊ก ข้าพเจ้า มีความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี
ตรวจสอบความถูกต้องแล้วคลิก ทำรายการต่อไป



ขั้นตอนที่ 6 ยืนยันการยื่นแบบ ขั้นตอนสุดท้าย จะเป็นสรุปให้ตรวจสอบอีกครั้ง เมื่อทุกอย่างถูกต้องคลิก ยืนยันการยื่นแบบ



เมื่อยืนยันการยื่นแบบแล้ว เป็นอันเสร็จสมบูรณ์จะมี ผลการยื่นแบบ ให้ดู ในกรอบล่างสุดมีเตือนว่า
กรุณาจดจำหมายเลขอ้างอิงการยื่นแบบ ก็จดไว้



ถึงขั้นตอนนี้เป็นอันเสร็จสิ้นการยื่นแบบเรียนร้อยแล้วครับ
เราสามารถพิมพ์แบบเป็นไฟล์ PDF ได้โดยคลิกที่ พิมพ์แบบ

นอกจากนี้เรายังสามารถสอบถามข้อมูลการขอคืนภาษีได้โดยกลับไปตั้งแต่หน้าแรกที่เราเลือก ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90/91
ดูลงมาบรรทัดล่างจะเห็น สอบถามข้อมูลการขอคืนภาษี ตามรูป คลิกเลยครับ



จะพาไปที่หน้า บริการสอบถามข้อมูลการขอคืนภาษี ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด. 91



ใส่ชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวประชาชน แล้วคลิก สอบถาม ก็จะเห็นว่าตอนนี้ถึงขั้นตอนไหนแล้ว





เรียบร้อยแล้วครับ การขอคืนเครดิตภาษีเงินปันผลสำหรับผู้ลงทุนในหุ้น ตอนนี้ก็รอรับเงินเท่านั้นครับ

เครดิต
ยื่นแบบภาษี โดยดึงข้อมูลปันผลจาก TSD / Mr.LikeStock
http://www.mrlikestock.com/2015/01/05/tax-tsd/
Download เป็นไฟล์ pdf มาอ่านก็ได้ ซื้อไฟล์
ยื่นแบบภาษี_โดยดึงข้อมูลปันผลจาก_TSD_-_MrLikeStock.pdf

แจกไฟล์ คำนวณภาษีและเครดิตปันผล / Mr.LikeStock
http://www.mrlikestock.com/2014/10/26/calculate_tax_dividend/

เครดิตภาษีเงินปันผล (ตอนแรก)
https://money.sanook.com/340239/

ลองไปใช้โปรแกรมคำนวนได้
https://www.itax.in.th/

Annop


หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สูญหาย หรือ ไม่ได้รับทางไปรษณีย์

ไม่ต้องกังวลครับ เมื่อกรมสรรพากร ต้องการขอเอกสารเพิ่ม แล้วไม่ได้เก็บไว้ หรือไม่ได้รับ
เราสามารถ Download ใบแทน หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จาก TSD ได้ดังนี้
เมื่อ Login เข้าระบบ Investor Portal แล้ว คลิกที่ พิมพ์รายงาน แล้วเลือกที่ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย



เลือกปีที่ต้องการ



แล้ว คลิก Search



ติ๊กที่หัวข้อที่ต้องการ จะติ๊กหลายรายการก็ได้ครับ



แล้วคลิกเพื่อ Download Report เป็นอันเรียบร้อยครับ



จะได้ไฟล์ชื่อ ViewPDF.pdf นำมาพิมพ์เป็นหลักฐานเพื่อยื่นกรมสรรพากร เป็นใบแทนได้ครับ