มีนาคม 28, 2024, 07:26:43 หลังเที่ยง

ข่าว:

SMF - Just Installed!


การใช้ Acronis True Image ในการ Backup Harddisk เป็น Image

เริ่มโดย Annop, ตุลาคม 06, 2017, 10:35:34 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

Annop


การใช้ Acronis True Image ในการ Backup Harddisk เป็น Image

Acronis True Image เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการ Backup มีความสามารถใช้ Clone Harddisk
เก็บไว้เป็นไฟล์อิมเมจ เอามาใช้ภายหลังได้ คล้ายกับ Norton Ghost ที่นิยมใช้มากที่สุดมานานแล้ว
มาดูหน้าตาและวิธีใช้งานกันครับ

ในบทความนี้เราจะเรียกโปรแกรม Acronis True Image จาก WinPE 10-8 Sergei Strelec ที่แนะนำไว้ ดูรายละเอียดได้ที่

WinPE 10-8 Sergei Strelec x86_x64_Native x86 ทำแผ่น DVD และ USB Boot อเนกประสงค์

เมื่อ Boot WinPE 10-8 Sergei Strelec แล้วเลือก Acronis True Image ตามรูป



มาแล้วครับ หน้าตาเป็นอย่างนี้เอง



ลองรู้จักกับส่วนต่างๆของ Acronis True Image กันก่อนครับ

Backup อันนี้เป็นพระเอกของบทความนี้เลยครับ แล้วจะมาอธิบายอย่างละเอียดตอนต่อไป



Recovery อันนี้ก็คู่กับ Backup แหละครับ แรกๆอาจดูงงๆถ้าจะ Recovery Harddisk ที่เป็น UEFI และ Partition แบบ GPT
เพราะมันมีหลาย Partition อันนี้ก็จะอธิบายอย่างละเอียด พอเข้าใจแล้วจะไม่งง



Tool & Utilities อันนี้ยังไม่ค่อยได้ใช้ ส่วนมากใช้แต่ Backup และ Recovery



เมื่อรู้จักกับ Menu ต่างๆแล้ว ต่อไปก็มาดูวิธีเข้าใช้งาน Backup และ Recovery มันเข้าถึงได้หลายวิธี จะได้ค่อยๆเข้าใจ

Backup My Disks เมื่อจะ Backup Harddisk เก็บไว้เป็นไฟล์อิมเมจ อันนี้เลยครับ เข้าถึงได้ 2 วิธีดังนี้
จากหน้า Home หน้าแรกเลย คลิกที่ Backup My Disks ครับ



หรือจากหน้า Backup ก็เลือก Disk and Partition Backup ก็ได้



จะเลือกวิธีไหนก็ได้ตามชอบ ก็จะขึ้นหน้า Backup Wizard ตามรูป



Recovery My Disks เมื่อจะ Recovery Harddisk ที่เก็บเป็นไฟล์อิมเมจไว้ ก็เข้าถึงได้ 2 วิธีดังนี้
จากหน้า Home หน้าแรกเลย คลิกที่ Recovery My Disks ครับ



หรือจากหน้า Recovery ก็เลือก Disk Recovery ก็ได้



จะเลือกวิธีไหนก็ได้ตามชอบ ก็จะขึ้นหน้า Recovery Wizard ตามรูป



การ Backup และ Recovery ที่จะใช้ในบทความนี้ จะใช้วิธีการเข้าถึงตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ส่วนต่อไปจะให้ดูการเข้าถึง Backup File & folders และ Recovery File & folders แต่จะไม่มีรายละเอียดวิธีใช้ในบทความนี้

Backup File & folders คล้ายกับที่อธิบายไปแล้ว ก็เข้าถึงได้ 2 วิธีเหมือนกันดังนี้
จากหน้า Home



หรือจากหน้า Backup



ก็จะได้ Backup Wizard



Recovery File & folders
จากหน้า Home



หรือจากหน้า Recovery



ก็จะได้ Recovery Wizard



ให้ดูหน้าตากันเท่านั้น เผื่อเข้ามาผิดจะได้ไม่สับสนครับ

Annop


การ Backup My Disks และ Recovery My Disks

ต่อไปจะเป็นรายละเอียด วิธีเก็บไฟล์อิมเมจ และนำไฟล์อิมเมจกลับมาใช้งาน
สำหรับ Partition แบบ MBR คงไม่ต้องแสดงให้ดู เราคงคุ้นเคยกันหมดแล้วเพราะมี Partition Drive C: อันเดียวไม่ซับซ้อน
เราจะลงรายละเอียดสำหรับ Harddisk ที่ลง Windows แบบ UEFI กับ Partition แบบ GPT ซึ่งมีหลาย Partition

Backup Partition แบบ GPT

เริ่มต้นเรามาทำความรู้จักโครงสร้างของ Partition ก่อน



จากรูป Harddisk ที่เห็นเป็น Partition แบบ GPT เมื่อลง Windows 10 มันจะสร้าง Partition ให้ดังนี้
1 Recovery Partition เป็น NTFS ขนาด 450 MB
2 EFI System Partition เป็น FAT32 ขนาด 100 MB
3 MSR System Partition (Microsoft Reserved Partition) เป็น Other ขนาด 16 MB
4 Primary Partition ที่ลง Windows ซึ่งก็คือ Drive C:
ลองดูรายละเอียดได้จาก วิธีการลง Windows แบบ UEFI โดยใช้ USB FlashDrive

เมื่อเราจะ Backup เราจะต้องรู้ว่าจะ Backup Partition ไหนบ้าง เรามาเรื่มต่อจากข้างบน Backup My Disks เลยครับ



เมื่อเลือก Backup My Disks เพื่อจะเก็บไฟล์อิมเมจ ลองดูรายละเอียดในหน้า Backup Wizard
จะเห็นว่าด้านซ้ายจะเป็นขั้นตอนการ Bachup ในขณะนี้อยู่ในขั้นตอน What to backup ด้านขวาจะเป็น Partition to back up
โดย default โปรแกรมจะติ๊กถูกอยู่ 2 Partition คือ Drive C: กับ EFI System Partition
ส่วน Recovery Partition ไม่ได้ถูกติ๊กไว้ ก็ลองเก็บไฟล์อิมเมจโดยไม่เก็บ Recovery Partition ก่อน
ผมจะทดลองให้ดูทั้ง 2 แบบภายหลัง ตอนนี้คลิก Next ครับ



ขั้นต่อไปคือ Archive location จะเป็นการให้เลือกวิธีเก็บ และที่เก็บไฟล์อิมเมจ
ครั้งแรกเลือก Create new backup archive ก่อน แล้วคลิก Browse เพื่อกำหนดที่เก็บไฟล์อิมเมจ



เลือกโฟลเดอร์ทางด้านซ้าย แล้วตั้งชื่อไฟล์อิมเมจตามชอบ ในที่นี้ตั้งว่า StartUp แล้วคลิก OK



มีชื่อไฟล์ และโฟลเดอร์ ขึ้นมาให้ตรวจสอบว่าชื่อไฟล์และที่เก็บถูกต้องหรือยัง ถูกต้องแล้วก็คลิก Next



ขั้นตอนสุดท้าย Finish มี Summary รายละเอียดบอกว่าจะเก็บ Partition อะไรบ้าง ถูกต้องก็คลิก Proceed



เริ่มทำการ Backup แล้วครับ รอสักครู่



ต้องรอจนขึ้น Bachup operation succeeded ถึงจะเป็นการเสร็จการเก็บไฟล์อิมเมจโดยสมบูรณ์ คลิก OK
จากนี้ก็ไปตรวจสอบว่ามีไฟล์อิมเมจชื่อ StartUp_full_b1_s1_v1.tib อยู่ในโฟลเดอร์ที่เราเตรียมไว้ถูกต้องไหม
สำเร็จแล้วครับการ Backup Harddisk เก็บเป็นไฟล์อิมเมจ

ลองย้อนกลับไปดูขั้นตอน What to back up จะลองเก็บไฟล์อิมเมจโดยเก็บ Recovery Partition ด้วยตามรูป



ในขั้นตอน What to back up เราติ๊กเพิ่มที่ Recovery Partition ด้วย คลิก Next



ขั้นตอนสุดท้าย Finish จะเห็นใน Summary มีการเก็บ Partition เพื่มจากเดิมอีกหนึ่ง Partition คลิก Proceed



กำลังเก็บไฟล์อิมเมจ รอสักครู่



คลิก OK เสร็จการเก็บไฟล์อิมเมจแล้วครับ
ขณะนี้เรามีไฟล์อิมเมจ ทั้งแบบ Default คือไม่เก็บ Recovery Partition และแบบเก็บ Recovery Partition
จะมาลอง Recovery ให้ดูทั้ง 2 แบบ

Annop


Recovery Partition แบบ GPT ลงใน Harddisk เดิมหรือ Harddisk ที่เคยลง Windows แล้ว

Harddisk เดิมหรือ Harddisk ที่เคยลง Windows แล้วหมายถึง Harddisk ที่มี Partition ทั้ง 4 แล้วคือ
Recovery Partition, EFI System Partition, MSR System Partition และ Primary Partition ที่ลง Windows Drive C:
ตามที่กล่าวมาแล้วลองย้อนกลับไปดูรายละเอียดด้านบนได้ครับ

เรามาต่อจากข้างบน Recovery My Disks เลยครับ เรื่มที่ Recovery Wizard



ด้านซ้ายก็จะเป็นขั้นตอน ขั้นแรกก็ Archive selection เมื่อคลิกที่ Browse ก็จะมี Location ให้เลือกไฟล์อิมเมจ



เลือกแล้วก็คลิก OK จะเห็นว่าในขั้นตอนนี้ Archive selection มีชื่อไฟล์อิมเมจขึ้นมาแล้ว



เมื่อตรวจสอบชื่อไฟล์ถูกต้องแล้ว คลิก Next ก็มาถึง Recovery method ขั้นตอนนี้เลือก Recover whole disks and partions



โดยปรกติมันจะเลือก Recover whole disks and partions อยู่แล้ว คลิก Next ก็มาถึงขั้นตอน What to recover



ติ๊กถูกที่ Disk 1 อันนี้เป็นไฟล์อิมเมจแบบไม่เก็บ Recovery Partition จะเห็นว่ามี 2 Partition ที่จะ Recovery คือ
Primary Partition ที่ลง Windows Drive C: และ EFI System Partition คลิก Next



ก็มาถึงขั้นตอน Settings of Partition G ไม่ต้องทำอะไรครับ Harddisk แบ่ง Partition นี้ไว้แล้ว คลิก Next ได้เลย



ขั้นตอน Settings of Partition C ก็เหมือนกัน ไม่ต้องทำอะไร คลิก Next ครับ



ก็จะเป็น MBR of Disk 1 ตามรูปก็เลือก Disk 1 คือ Harddisk ที่จะ Recovery คลิก Next ต่อไปก็ Finish



จะมี Summary บอกรายละเอียดขั้นตอนทั้ง 5 ที่ทำไว้



สามารถเลื่อนดูรายละเอียดทั้งหมดได้ เมื่อตรวจสอบความถูกต้องแล้ว คลิก Proceed



เริ่ม Recovery แล้วครับ รอจนขึ้น Recovery operation succeeded ก็คลิก OK



เสร็จแล้วครับ ลอง Boot ดูก็ถูกต้องเหมือนตอนทำ Backup ไว้

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าไฟล์อิมเมจที่ใช้ Recovery นี้เป็นแบบ Default คือไม่ได้เก็บ Recovery Partition
เรามาดูว่าถ้า Recovery แบบใช้ไฟล์อิมเมจที่ Backup แบบเก็บ Recovery Partition จะต่างกันอย่างไรบ้างดังนี้

ในขั้นตอน What to recovery จะเห็นว่ามี Recovery Partition อยู่ด้วย



และจะมีขั้นตอน Setting of Partition 1-1 เพิ่มเข้ามา



ใน Summary จะเห็นว่ามีขั้นตอนที่ 2 และ  3  เพิ่มเข้ามาเป็น 7 ขั้นตอน ตามรูป





ทำไปเรื่อยๆจนสุดท้าย Recovery operation succeeded คลิก OK เหมือนเดิม ก็เสร็จการ Recovery
จากการทดลองทำทั้ง 2 แบบพบว่าการ Backup ทำแบบ Default คือไม่เก็บ Recovery Partition ก็ใช้งานได้

Annop


Recovery Partition แบบ GPT ลงใน Harddisk ใหม่ที่ยังไม่มี Partition เลย

จะลอง Recovery ให้ดูทั้ง 2 แบบที่ทดลอง Backup ไว้ ทบทวนหน่อย
Backup ตาม Default คือไม่เก็บ Recovery Partition และแบบเก็บ Recovery Partition
ขั้นแรกจะ Recovery จากไฟล์อิมเมจที่เก็บแบบ Default คือไม่เก็บ Recovery Partition ก่อน
แล้วจะเปรียบเทียบให้ดูความแตกต่างของทั้ง 2 แบบ

เริ่มผมจะใช้ Harddisk ตัวเดิม จะได้ไม่ต้องซื้อใหม่ โดยลบ Partition ส่วนที่ใช้ลง Windows ไว้ทั้งหมด
ทำให้เหมือน Harddisk ใหม่ที่ยังไม่มี Partition เลย เหลือแต่ Drive D: ก็ใช้เก็บไฟล์อิมเมจที่ใช้ทดลอง
ผมใช้โปรแกรม AOMEI Partition Assistant ซื่งก็มีอยู่ใน WinPE 10-8 Sergei Strelec นั่นแหละ
ตามรูป ก็ลบทุก Partition และ Drive C: รวมให้เป็นผืนเดียวกันเหลือแต่ Drive D:



เข้าไปเลือกไฟล์อิมเมจ ลองตาม Default ก่อน แบบไม่มี Recover Partition



เลือกแล้วก็คลิก OK จะเห็นว่าในขั้นตอนนี้ Archive selection มีชื่อไฟล์อิมเมจขึ้นมาแล้ว



เมื่อตรวจสอบชื่อไฟล์ถูกต้องแล้ว คลิก Next ก็มาถึง Recovery method ขั้นตอนนี้เลือก Recover whole disks and partions



โดยปรกติมันจะเลือก Recover whole disks and partions อยู่แล้ว คลิก Next ก็มาถึงขั้นตอน What to recover



ติ๊กถูกที่ Disk 1 อันนี้เป็นไฟล์อิมเมจแบบไม่เก็บ Recovery Partition จะเห็นว่ามี 2 Partition ที่จะ Recovery คือ
Primary Partition ที่ลง Windows Drive C: และ EFI System Partition คลิก Next



ก็มาถึงขั้นตอน Settings of Partition G Harddisk นี้ยังไม่แบ่ง Partition ให้คลิก New location



เลือก Unallocated ให้มันแบ่ง Partition ซึ่งจะเป็น EFI System Partition แล้วคลิก Accept



ขั้นตอน Settings of Partition C ก็เหมือนกันคลิก New location



เลือก Unallocated ให้มันแบ่ง Partition ซึ่งจะเป็น Drive C: แล้วคลิก Accept



เมื่อแบ่ง Partition เรียบร้อยแล้วก็คลิก Next ได้เลย



ก็จะเป็น MBR of Disk 1 ตามรูปก็เลือก Disk 1 คือ Harddisk ที่จะ Recovery คลิก Next ต่อไปก็ Finish



จะมี Summary บอกรายละเอียดขั้นตอนทั้ง 3 ที่ทำไว้



เมื่อตรวจสอบความถูกต้องแล้ว คลิก Proceed



เริ่ม Recovery แล้วครับ รอจนขึ้น Recovery operation succeeded ก็คลิก OK



เสร็จแล้วครับ ลอง Boot ดูก็ถูกต้องเหมือนตอนทำ Backup ไว้



เมื่อลองดูจากโปรแกรม AOMEI Partition Assistant จะเห็นว่ามีแค่ 2 Partition เท่านั้น
คือ EFI System Partition กับ Drive C: จากเดิมที่ Install Windows 10 จะมี 4 Partition

ลองดู Recovery แบบใช้ไฟล์อิมเมจที่ Backup แบบเก็บ Recovery Partition จะต่างกันอย่างไรบ้างดังนี้
จะไม่อธิบายรายละเอียดมากนัก เพราะมันคล้ายกัน ลองค่อยๆดูทำความเข้าใจนะครับ
เริ่มเหมือนเดิม ลบทุก Partition และ Drive C: รวมให้เป็นผืนเดียวกันเหลือแต่ Drive D:











จะมีขั้นตอนนี้เพิ่มขึ้น ทำเหมือนเดิม โดยคลิก New location เลือก Unallocated
ให้มันแบ่ง Partition ซึ่งจะเป็น Recover Partition แล้วคลิก Accept





















ขั้นตอนจะเพิ่มขึ้นขั้นตอนนึง







เมื่อลองดูจากโปรแกรม AOMEI Partition Assistant จะเห็นว่ามีเป็น 3 Partition
คือ Recovery Partition, EFI System Partition และ Drive C:



สรุป
1 ตอนทำ Backup เลือกแบบ Default ก็พอ โดยโปรแกรมจะติ๊กถูกอยู่ 2 Partition เท่านั้น
คือ Drive C: กับ EFI System Partition ส่วน Recovery Partition ไม่ต้อง Backup ก็ได้
2 เมื่อ Install Windows 10 จะมี 4 Partition เกิดขึ้นดังกล่าว แต่จากการทดลองมีแค่ 2 Partition ก็ใช้งานได้
คล้ายกับลง Windows แบบ MBR เดิมซึ่งจะมี Recovery Partition หรือไม่มีก็ได้
3 ถ้า Recovery ลงใน Harddisk ใหม่ที่ยังไม่มี Partition เลยมันจะสร้าง Partition ให้ตามไฟล์อิมเมจ