มีนาคม 29, 2024, 03:30:09 ก่อนเที่ยง

ข่าว:

SMF - Just Installed!


วิธีการลง Windows แบบ UEFI โดยใช้ USB FlashDrive

เริ่มโดย Annop, กรกฎาคม 29, 2017, 09:32:46 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

Annop

วิธีการลง Windows แบบ UEFI โดยใช้ USB FlashDrive

มาทำความรู้จัก UEFI กับ Partition แบบ GPT และ BIOS กับ Partition แบบ MBR ก่อนครับ
เมื่อก่อนเราเคยใช้ Firmware แบบ BIOS ควบคู่กับ Partition แบบ MBR
UEFI (Unified Extensible Firmware Interface) คือ Firmware สำหรับ PC ที่ออกแบบมาเพื่อใช้แทน
BIOS (Basic Input/Output System) โดย UEFI พัฒนาออกแบบมาให้ทำงานควบคู่กับ Partition แบบ GPT
เพื่อแก้ไขข้อจำกัดต่างๆ ของ BIOS เช่น Partition แบบ MBR ใหญ่เกิน 2 TB ไม่ได้

ข้อแนะนำ
สำหรับใครที่ ซื้อ Harddisk ขนาด 2 TB ขึ้นไป ให้ทำการ Convert HDD เป็น GPT แล้วลงแบบใช้ UEFI
จะดีกว่าครับ เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน

ขั้นตอนในการลงแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1 เตรียม USB FlashDrive เพื่อใช้ในการลง Windows แบบ UEFI
2 Convert Harddisk ให้เป็น Partition แบบ GPT
3 ลง Windows ใน Harddisk ที่มี Partition แบบ GPT

ขั้นตอนแรก เป็นการทำ USB FlashDrive เพื่อ Boot และ Install Windows แบบ UEFI

เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนนี้มีดังนี้

1 Flashdrive อย่างน้อยควรใช้ประมาณ 8GB เพราะตัว Windows 10 ก็ใหญ่ประมาณ 4 GB แล้ว

2 เตรียม Windows ที่จะลงเป็น Windows 7, Windows 8.1 หรือ Windows 10 ก็ได้แต่ต้องเป็น 64 บิต
ในที่นี้จะใช้ Windows 10 ก่อนอื่นต้องมีไฟล์ Windows.iso ก่อนหา Download ได้จาก Microsoft ตาม Link ไป Download กันได้ครับ
https://www.microsoft.com/th-th/software-download/windows10 ขณะนี้เป็น Windows 10 x64-EN-US 1703 Build 15063.0

3 โปรแกรมที่ใช้ทำ USB Boot Drive ที่นิยมใช้จะเป็น Rufus หา Download ได้ที่
https://rufus.akeo.ie/ เมื่อเข้าไปจะบอก Version การอัพเดทล่าสุด 2017.05.16 เป็น Rufus 2.15

เมื่อพร้อมแล้วก็เริ่มกันเลยครับ

เมื่อเสียบ FlashDrive แล้ว Run โปรแกรม Rufus ตามรูป จะเป็น Rufus 2.15.1117



จะเห็นเป็นข้อมูลของ FlashDrive นั้นเช่น Device WIN10 GPT (M:) [16GB] และอื่นๆ เรียงลงมา
ถ้าเสียบ FlashDrive ไว้หลายอัน ก็เลือกอันที่จะทำ USB Boot Drive ตลิก DropDown แล้วเลือก

คลิกที่ Icon DVD Disk ข้างหลังบรรทัดที่เขียนว่า Create a bootable disk using ISO Image เลือกที่เก็บ ISO ไฟล์
ต่อไปที่สำคัญ และจำเป็นต้องเลือกคือ File systen เป็น FAT32 เคยใช้ NTFS บาง Mainboard อ่านไม่ได้



อีกส่วนที่สำคัญคือ Partition scheme and target system type คลิก DropDown แล้วเลือก GPT partition scheme for UEMI

เสร็จแล้วคลิก Start ได้เลย จะเห็นคำเตือน



ก็คลิก OK ไป จะเห็นตามรูป Copying ISO files... แล้วรอ



จนเสร็จ จะขึ้นบอกว่า READY



เป็นอันเสร็จ คลิก Close ได้เลย ได้แล้วครับ FlashDrive สำหรับ Install Windows 10 แบบ GPT จบขั้นตอนที่ 1 ครับ

Annop

ขั้นตอนที่ 2 เป็นการ Convert Harddisk ให้เป็น Partition แบบ GPT

เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนนี้มีดังนี้

1 Harddisk ที่จะใช้ลง Windows แบบ UEFI

2 โปรแกรมที่ใช้ Convert Partition แบบ MBR กับ GPT นิยมใช้โปรแกรม AOMEI Partition Assistant Standard Edition หา Download ได้ที่
http://www.aomeitech.com/ หรือที่นี่ก็ได้ครับ http://www.disk-partition.com/free-partition-manager.html
Standard Edition นี่ให้ใช้ฟรีครับ ขณะนี้เป็น Version 6.3 (April 21, 2017)

มาดูข้อแตกต่างของ Harddisk Partition แบบ MBR กับ GPT กันก่อนครับ
จะให้ดู Harddisk 2 ตัวที่ลง Windows 10 ทั้งแบบ MBR กับ GPT



รูปแรกนี่แบบดั่งเดิมที่เคยใช้ Disk Mamagement โดย Disk 0 เป็น Partition แบบ MBR และ Disk 1 เป็น Partition แบบ GPT



ส่วนรูปที่ 2 ดูจากโปรแกรม AOMEI Partition Assistant โดย Disk 1 เป็น Partition แบบ MBR และ Disk 2 เป็น Partition แบบ GPT
ก็ Disk ต้วเดิมนั่นแหละ แต่มันนับเริ่มต้นไม่เหมือนกัน

ข้อแตกต่างที่เห็นได้คือ

Disk Partition แบบ MBR เดิมๆที่เคยใช้มานาน คงพอจำได้
Recovery Partition อาจจะมี หรือไม่มีก็ได้
Primary Partition ที่ลง Windows ต้องเป็น Active Partition

Disk Partition แบบ GPT เมื่อลง Windows มันจะสร้าง Partition เล็กๆเพิ่มขึ้นเองดังนี้
Recovery Partition เป็น NTFS ขนาด 450 MB
EFI System Partition เป็น FAT32 ขนาด 100 MB
MSR System Partition (Microsoft Reserved Partition) เป็น Other ขนาด 16 MB
Primary Partition ที่ลง Windows ไม่ต้องเป็น Active Partition

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
UEFI/GPT-based hard drive partitions
https://docs.microsoft.com/en-us/windows-hardware/manufacture/desktop/configure-uefigpt-based-hard-drive-partitions

เมื่อซื้อ Hardisk มาใหม่ หรือใช้ Harddisk เดิมที่ Partition เป็นแบบ MBR ต้องทำการ Convert Partition ให้เป็น Partition แบบ GPT ก่อน
วิธีการ Convert Partition จะใช้โปรแกรม AOMEI ทำตามนี้ได้เลยครับ
ผมจะลอง Convert Disk 1 ซึ่งเป็น Windows 10 ที่กำลังใช้อยู่ โดยปรกติไม่น่าจะ Convert ได้ ลองดูครับ
เมื่อจะ Convert Disk 1 ก็คลิกที่ Disk 1 ให้เป็นสีเขียว แล้วเลือก Convert to GPT ที่ Menu ด้านซ้ายล่าง
หรือ คลิกขวาแล้วเลือก Convert to GPT Disk ตามรูป



มีข้อความเตือนถามความแน่ใจว่าจะ Convert ไหมก็ OK



มันบอกว่า AOMEI Partition Assistant Standard Edition ทำไม่ได้ตามคาด แต่ก็ยังคุยว่า ถัาเป็นรุ่นเสียเงินอาจทำได้



ลองใหม่ครับ จะลองเปลี่ยนเป็น Boot จากอีก Harddisk นึงแล้วลอง Convert ดูใหม่
ตามรูปครับ Harddisk ที่จะลอง Convert อันเดิมเป็น Disk 1 ครับ
ก็ทำแบบเดิมเลือก Disk 1 ให้เป็นสีเขียว แล้วเลือก Convert to GPT หรือจะใช้คลิกขวาก็ตามใจ



ก็มีข้อความเตือนถามความแน่ใจว่าจะ Convert ไหมเหมือนเดิม ก็คลิก OK ไป คราวนี้ยอมแล้วครับ



ขึ้นมาบอกว่า Disk 1 เป็น Basic GPT แล้วครับ แต่ตอนนี้ยังไม่ได้ Convert นะครับ
ดู Menu ทางซ้าย ข้างล่างจะเห็นว่าตรง Pending Operations รอ Convert disk 1 to GPT อยู่ครับ
โปรแกรม AOMEI มีความสามารถทำได้หลายงานตามลำดับได้ เช่นอาจสั่ง Format ต่ออีกก็ได้
มันจะมาเพิ่มเป็นข้อต่อไปใน Pending Operations เมื่อจัดการหมดแล้วก็คลิก Apply ข้างบน Tool Bar ซ้ายสุดเลยครับ



จะมีหน้า Pending Operations มาให้ตรวจสอบอีกทีว่าครบถูกต้องไหม ในที่นี้มี Operation เดียว
เมื่อเห็นว่าถูกต้องแล้วก็คลิก Proceed



ก็ยังถามอีกครับ ถ้าแน่ใจก็ Yes



กำลังทำงานครับ มี Operation เดียว



เร็วมากครับ เสร็จแล้วก็ OK



จะเห็นว่า Disk 1 Partition ได้เปลี่ยนเป็นแบบ GPT โดยสมบูรณ์แล้วครับ

ข้อดีของการใช้โปรแกรมนี้คือ ไฟล์ใน Harddisk ไม่เสีย และเร็วมาก (ตอนทำก็ Backup ไว้เหมือนกันครับ กลัวเสีย)
เสร็จแล้วครับ การ Convert Harddisk ไม่ว่าตัวใหม่ หรือตัวเก่าที่มีข้อมูลอยู่ ให้เป็น Partition แบบ GPT

Annop

ขั้นตอนที่ 3 เป็นการลง Windows ใน Harddisk ที่มี Partition แบบ GPT

เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนนี้มีดังนี้

1 เครื่อง Computer ที่จะใช้ลง Windows

2 Harddisk ที่เตรียมมาในขั้นตอนที่ 2

3 USB FlashDrive ที่เตรียมมาในขั้นตอนที่ 1

เนื่องจากเราต้องการลง Windows ใหม่เลย ไม่สนใจ Windows เดิมที่มีอยู่ ก็จะทำต่ออีกเล็กน้อย
ซึ่ง Hardisk ที่ Convert แล้วจากขั้นตอนที่ 2 เราจะทำการ Delete Partition ที่ลง Windows ไว้ให้หมดไปเลย
โดยคลิกขวาที่ Partition ที่จะ Delete แล้วเลือก Delete Partition หรือ คลิกแล้วไปเลือก Delete Partition ใน Menu ด้านซ้ายก็ได้



จะมีข้อความถามว่าจะเก็บ Data ไว้ไหม เราจะไม่เอาเลยก็เลือกตามรูป แล้ว OK



คล้ายกับที่เคยทำมาแล้ว ตอนนี้ก็อยู่ในขั้นตอน Pending เมื่อพร้อมก็คลิก Apply ครับ



ดูความพร้อม ถูกต้องก็ Proceed เลยครับ



ก็ยังขึ้นมาเตือนอีก เราจะทำก็ต้อง Yes ครับ



กำลังทำแล้วครับ แป๊บเดี่ยวเสร็จ



มาบอกความก้าวหน้าว่าเสร็จแล้วครับ OK



นี่ครับ Delete Partition เรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะลง Windows ใหม่แบบ UEFI แล้วครับ



ต่อไปผมจะถอด Harddisk อื่นออกจากเครื่องแล้วครับ เหลือไว้ตัวที่จะลง Windows เท่านั้น
เมื่อจะลง Windows และอยากให้เป็นอิสระ Boot ได้ด้วยตัวเอง ขอแนะนำว่าถ้าในระบบมี Harddisk หลายตัว
ควรถอดออกให้หมด ให้เหลือตัวที่จะลง Windows เท่านั้น ผมเคยลองไม่ถอดดูแล้ว มันจะยุ่งมาก
ไม่ว่าจะลงแบบ MBR เดิม ก็ต้องใส่ Harddisk ไว้เหมือนเดิม ถอดตัวใดตัวหนึ่งออกไม่ได้ ต้องเอาโปรแกรม EasyBCD มาแก้
และถ้าเป็น UEFI ยิ่งยุ่งหนัก ลองดูเวลา Set BIOS ของเครื่องแล้วคงพอเข้าใจ

เครื่อง Computer ที่จะใช้ลง Windows
หลังจากถอด Harddisk ให้เหลือเพียงตัวที่จะลง Windows แล้ว ต้องเข้าไปตั้งค่า BIOS ด้วยซึ่งแต่ละยี่ห้อก็ไม่เหมือนกัน
แต่พอจะสรุปส่วนสำคัญที่ต้องตั้งค่าตามนี้

Mainboard ที่ใช้ทดลองเป็น P8H67-M PRO การเข้า BIOS ก็ทำเหมือนเคยทำทั่วไปโดย เวลา Boot เครื่องแล้วกด Del
ถ้าเครื่องที่เคยผ่านการ Boot แบบ UEFI มาแล้ว อาจจะเข้า BIOS ไม่ได้ มีวิธีทำจะเล่าให้ฟังที่หลัง
เราจะ Install Windows โดยใช้ USB FlashDrive ที่เตรียมมาจากขั้นตอนที่ 1 ก็เสียบไว้ด้วย



ขึ้นหน้า BIOS Setting มาแล้วครับ สังเกตุด้านล่างตรง Boot Priority จะเห็นว่ามีอุปกรณ์ที่ใช้ Boot แบบ UEFI อยู่ 2 ชนิด
ก็คือ Harddisk ที่เตรียมมาจากขั้นตอนที่ 2 และ USB FlashDrive ที่เตรียมมาจากขั้นตอนที่ 1
ขั้นต้นต้องตั้งค่าให้ Boot จาก USB FlashDrive เพื่อ Install Windows มีวิธีที่นิยมทำกัน 2 วิธีคือ
ตั้งค่าให้ Boot จาก USB FlashDrive เลยดังนี้



ขยายกันให้ดูชัดๆ จะเห็นว่า USB FlashDrive ที่ใช้ทดลองเป็น HP v220w ขนาด 16 GB



นี่ครับตั้งค่าให้ Boot จาก USB FlashDrive แล้ว



อีกวิธีนึงคือ ตั้งค่าให้ Boot จาก Harddisk เลย แต่การตั้งค่าไม่เหมือนกับตอนที่เป็น MBR เดิมที่เลือก P1: WDC WD... เป็นต้น
แต่ถ้าจะ Boot แบบ UEFI ต้องเลือกเป็น Windows Boot Manager ซึ่งถ้าใส่ Harddisk หลายตัว
ก็จะเห็น Windows Boot Manager หลายตัว และจะสับสน ไม่รู้ว่าเป็นตัวไหน
เมื่อตั้งค่าเสร็จก็สั่ง Boot เครื่องครับ สำหรับ Mainboard ASUS ให้กด F8 เพื่อเลือก Boot



ก็จะมี Menu ขึ้นมาให้เลือกว่าจะ Boot จากอุปกรณ์ตัวไหน จะเห็นว่ามี USB FlashDrive 2 แบบ
จะลงแบบ UEFI ก็เลือก UEFI: hp v220w ... ตามรูป



เริ่ม Install เมื่อ Boot จาก USB FlashDrive ทำตามขั้นตอนแบบที่เคย Install



เปลี่ยน Time and currency format: เป็น Thai (Thailand) แล้วเลือก Install now



ทำตามขั้นตอนการ Install Windows แบบที่เคยทำ ผมมักจะเลือกไม่ใส่ Product Key









ขั้นตอนนี้ผมมักจะเลือก Custom: Install Windows Only (advanced) ก็จะลงใหม่เลย ไม่สนใจของเก่าแล้ว



ขั้นตอนนี้ถ้า Install Windows แบบ UEFI เมื่อเลือก Partion แล้วสามารถคลิก Next ได้เลย
ไม่ต้องเลือก New เหมือนตอน Install Windows แบบ MBR มันจะสร้าง Partition ให้เอง
แต่ตอนนี้อยากให้ดูว่าการ Install Windows แบบ UEFI มันจะสร้าง Partition อะไรให้บ้าง ก็คลิก New



แล้ว คลิก Apply



เมื่อ Partition ที่จะลงยังไม่มีอะไรอยู่เลย Windows จะสร้าง Partitions ขึ้นมาให้ คลิก OK



เห็นไหมครับ มันสร้างขึ้นมา 4 Partitions เลยตามที่เคยบอกลายละเอียดไว้ในขั้นตอนที่ 2 ก็ทำต่อไปเรือยๆ













เสร็จแล้วครับ การลง Windows แบบ UEFI โดยใช้ USB FlashDrive

Annop


จับฉ่ายเกี่ยวกับ Windows แบบ UEFI ที่มักมีปัญหา

การเข้าหน้า BIOS Setting
จากที่เกริ่นมาว่าเมื่อใช้ Windows แบบ UEFI ใน BIOS ต้องตั้งค่าเป็น Windows Boot Manager
จะเห็นว่า Boot ได้เร็วขึ้นมาก เนื่องจากเวลา Boot ไม่ต้องผ่าน BIOS แล้วเวลาจะตั้งค่าใน BIOS จะทำอย่างไร
เพราะไม่สามารถกด Del เพื่อเข้าหน้า BIOS ได้ มีวิธีครับ โดย Shutdown ด้วยคำสั่งดังนี้

shutdown.exe /s /t 0

คีย์คำสั่งที่ Command Prompt หรือ เรียก Run Command ขึ้นมาใช้ก็ได้ ตามรูป



พอ Boot ขึ้นมาใหม่จะสามารถกด Del เพื่อเข้าหน้า BIOS Setting ได้
หรือถ้าเป็นผู้ที่ชอบตั้งค่าใน BIOS บ่อยๆ ก็ทำเป็น Shortcut ไว้เลยก็สะดวกดีครับ



เครื่องเดิมหลังจากลอง Flash BIOS รุ่นใหม่

จากบทความข้างบน ถ้ามี Harddisk หลายตัว อาจทำให้สับสนเพราะไม่รู้ว่าจะเลือกตัวไหน
เนื่องจากจะเป็น Windows Booot Manager เหมือนกันหมด ผมลอง Flash BIOS รุ่นใหม่
ผลเป็นที่น่าพอใจครับ Windows Booot Manager มีบอกด้วยว่าเป็นของ Harddisk ตัวไหน

ใช้กด F8 เลือก Boot Device ตอน Boot เครื่อง



อันนี้เลือก Boot จากใน BIOS



ขยายให้ดูชัดๆ



แสดงว่า MainBoard รุ่นใหม่ๆคงไม่มีปัญหากับการเลือก Harddisk ที่จะ Boot แล้วครับ

การเก็บ Image Windows ที่ Partition เป็นแบบ GPT

ลองไปดูที่นี่เลยครับ
การใช้ Acronis True Image ในการ Backup Harddisk เป็น Image