การตั้งค่า TL-WA801ND เป็น Bridge with APBridge with AP ใช้ในการรวม Networks ทั้ง 2 วงให้ใช้ร่วมกันได้โดยเชื่อมกันทาง Wirless
และยังสามารถใช้งานคล้าย Universal Repeater ได้คือเป็น Range Extender ด้วย
ข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือเป็นตัวของตัวเอง สามารถกำหนด SSID และ Wireless Security เป็นของตัวเองได้
วิธีการตั้งค่าก็คล้ายๆกับ Mode Universal Repeater
ผมทดลองทำเท่าไหร่ก็ไม่สำเร็จ ทำได้แค่ Mode Universal Repeater แม้แต่ลองทำ Mode Access Point ก็ไม่ได้
เอาไปให้ที่ ศูนย์บริการที่เซียร์รังสิตตรวจสอบดู ทางศูนย์บอกว่า สัญญานมันแกว่ง เลยเปลี่ยนตัวใหม่ให้
ใช้มาเกือบ 3 ปีแล้ว เปลี่ยนตัวใหม่ให้พร้อม Adapter (พอดีติดไปด้วย) ดีมาก Lifetime Warranty จริงๆ TP-LINK
พอได้ตัวใหม่ก็มาดูกันใหม่ครับ

จากรูปเมื่อหงายดูด้านหลังเครื่องจะมีรายละเอียดต่าง ที่สำคัญต้องรู้คือ
IP Address เป็น
http://tplinkap.net จะใช้อันนี้หรือแบบของเดิมก็ได้รุ่นใหม่ก็ยังใช้ IP Address เดิม
http://192.168.0.254Username: admin และ Password: admin
ค่าที่ได้มานี้จะเป็นค่าที่ตั้งมาจากโรงงานคือจะเป็นค่านี้เมื่อซื้อมาใหม่ หรือทำ Factory Reset
ไม่ว่าจะกดปุ่ม Reset ด้านหลัง หรือ Factory Reset จาก Program ของมันเอง

เริ่มโดยต่อสาย Lan ระหว่าง TL-WA801ND กับ Computer เปิด (Switch ON) TL-WA801ND
สักพักโดย Default TL-WA801ND จะทำตัวเป็น DHCP Server ส่ง IP Address มาให้ Computer
ใช้ Internet Explorer หรือ Web Browser อะไรก็ได้ ใส่ค่า
http://tplinkap.net หรือ
http://192.168.0.254 ที่ Address Bar
จะขึ้นหน้า Security ให้ Login ตามรูป ใส่ค่า Username และ Password ลงไป กด Login

ตอนนี้ก็จะเขัาหน้า Menu Quick Setup ก็ใช้ Quick Setup ไปเลยครับ กด Next

แก้เป็น Thailand ละกันครับ ใช้เมืองไทย

มี Mode ต่างๆให้เลือกครับ ตอนนี้เราจะทำเป็น Bridge with AP ก็เลือกที่ Bridge with AP แล้วกด Next

ถึง Wireless Settings แล้วครับกด Survey

มันจะไปหามาว่าจุดที่อยู่นี้รับสัญญาน Wifi ได้อะไรบ้าง เลือก Connect ตัวแม่ที่เราต้องการ

กลับมาที่หน้าเดิม จะเห็นว่าได้ถูกเติมค่าของ Wifi ที่เราเลือก Wireless Name และ MAC Address
ที่เหลือที่ต้องใส่เองคือ Wireless Security Mode และ Wireless Password ของตัวแม่ เพื่อให้ Connect กันได้

เลื่อนลงมาข้างล่าง จะเป็น Local Wireless Setting ใส่ชื่อ SSID และ Wireless Security ของตัวนี้ได้เลย

ถึงหน้า Network Settings ตัวนี้ฉลาดกว่าตัวเดิมนะ มันรู้ว่า IP Address ของตัวแม่กับตัวที่กำลังตั้งค่าอยู่นี้ อยู่คนละ Network กัน
โดยเสนอให้ใช้ Smart IP(DHCP) คือจะรับ IP จากตัวแม่ก็ได้

แต่ผมชอบทำเป็น Static IP แล้วแก้ IP Address เป็น 192.168.1.254 ให้อยู่ใน Network เดียวกับตัวแม่ของผม
และ DHCP Server ก็แก้เป็น Disable ด้วย เพื่อไม่ให้ตัวนี้ส่ง IP Address ไปให้ตัวอื่น ให้รับ IP Address จากตัวแม่เท่านั้น
ผมลองไม่แก้อะไรเลยใช้ Smart IP(DHCP) แล้วตัว DHCP Server ก็อยู่ที่ Enable ก็ได้เหมือนกัน ง่ายดีด้วย
พอมัน Restart เสร็จลองเข้าไปดูที่ DHCP Server กลัวมันจะจ่าย IP Adress ซ้ำกับตัวแม่ ปรากฎว่ามันก็แก้เป็น Disable ให้

หน้าต่อมาเป็นสรุปว่าได้ตั้งค่าอะไรไปบ้าง


ตรวจสอบว่าทุกอย่างถูกต้องก็กด Finish มันจะ Save ค่าต่างๆและ Restart

Restart เสร็จก็ให้รอสักพัก ถ้าไม่ขึ้นหน้า Login ก็ให้ Refresh Browser เสียหน่อย

พอ Restart เสร็จก็จะขึ้นหน้า Login เหมือนตอนแรก แต่ดูข้างในจะเห็นว่าเปลี่ยน IPAddress เป็น 192.168.1.254 แล้ว

เสร็จแล้วครับ การตั้งค่า Mode Bridge with AP